ประวัติ ของ หมู่บ้านฝาย (จังหวัดอุตรดิตถ์)

ความเป็นมาชื่อหมู่บ้าน

อุโบสถวัดศรีสะอาดโพธิ์ชัย อายุเก่าแก่นับร้อยปี

ตำนานกล่าวว่า บ้านฝายนั้นเป็นเมืองเก่า ตามคำกล่าวของย่าปล้อง เสาวภา เมื่อขณะท่านอายุได้ 95 ปี แต่ปัจจุบันนี้คุณย่าปล้อง ได้เสียชีวิตไปประมาณ 45 ปีแล้ว (พ.ศ. 2559) เพราะคุณย่าปล้อง เป็นผู้ดูแลรักษาสิ่งของๆ ท่านเจ้าพ่อพระยาปาดอยู่มาจนถึงลูกหลานของคุณย่าปล้องดูแลรักษาอยู่จนทุกวันนี้ ท่านย่าปล้องเล่าว่า เดิมทีบ้านฝายเป็นเมืองเก่า เพราะมีวัตถุโบราณของเก่าๆอยู่หลายต่อหลายอย่างอาทิ เช่น เครื่องทำโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย ไม้หนีบขมับ ไม้จับตอกกกเล็บมือ แล้วมีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอยู่ 7 องค์ด้วยกัน พร้อมเครื่องทรงของท่านเจ้าพ่อพระยาปาดตอนออกรบอยู่ด้วย มีดาบ มีง้าว มีหมวกอยู่ครบชุด มีท่านพ่อพระยาปาดปกครองบ้านเมืองอยู่ในสมัยนั้น ไม่มีทุ่งนาล้อมรอบหมู่บ้านอย่างปัจจุบันนี้ ตอนนั้นเป็นหมู่บ้านเต็มไปหมด ชาวบ้านทำไร่ข้าวกัน (ทำไฮ้ข้าวเลื่อนลอย) ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันออกไปตามพื้นที่ ๆ ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น แยกออกไปอยู่หมู่บ้านใหม่ บ้านนากวางของปัจจุบันนี้แล้วแต่พื้นที่ที่เหมาะสม เพราะประชาชนหนาแน่นขึ้น ข้าวอยากหมากแพง และเสื้อผ้าก็ไม่มีนุ่งห่มกัน ท่านเจ้าพ่อพระยาปาดได้เข้าไปบ้านนาฝาย เมืองปากลาย (แขนงไชยบุรี) ประเทศลาวและได้เมล็ดฝ้ายมาแจกจ่ายให้กับประชาชนปลูกผสมกับไร่ข้าว (ทำไฮ้) เพราะไม่มีนาเหมือนทุกวันนี้ ได้ทำไร่ข้าวผสมฝ้ายเลื่อนลอย พอฝ้ายที่ปลูกผสมกับข้าวได้ประมาณ 120 วัน ก็จะมีปุยฝ้ายขาวเต็มไปพร้อมกับข้าว แล้วก็นำเอาฝ้ายมาเข็ญเป็นเส้นฝ้ายแล้วนำมาทำผ้าตัดเย็บด้วยมือเป็นซ้งเป็นเสื้อ (ซ้ง คือ กางเกง) สภาพพื้นที่ทำไร่กันนั้นเหมาะสมที่จะทำนาชาวบ้านก็มาขุดหลักขุดตอออกก็มาทำเป็นบิ้งนา และมาทำคันนบกันลำแม่น้ำปาด ลำห้วยแม่พังงาบ้างและลำห้วยอื่นๆอีกมากมายก็เลยเรียกว่า “ฝาย” กันลำน้ำเพื่อเอาน้ำมาทำนาไร่ข้าวและไร่ฝ้ายก็ค่อยๆหายไป เพราะไม่มีใครทำไร่ข้าวไร่ฝ้าย เพราะทำนาข้าวได้ดีกว่ากัน สุดท้ายมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่เมืองฝายกันก็เลยเปลี่ยนจากบ้านฝ้ายมาเป็นบ้านฝาย จนทุกวันนี้[1]

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ศาลเจ้าพ่อพระยาปาด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าตากสินได้ปราบปรามรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก เช่น เมืองนครสวรรค์ พิษณุโลก ด่านซ้ายเมืองเลย เจ้าน่าน เจ้าแพร่ รวมทั้งเมืองพระยาปาด พระฝาง ไว้ได้หมดทุกหัวเมือง พ่อพระยาปาดท่าน เป็นคนใจบุญ ท่านได้สร้างวัดขึ้น 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2325 สร้างวัด 1 หลัง พร้อมหอสวดมนต์และ สร้างศาลา ขึ้น 2 หลัง เพื่อให้ลูกหลานของชาวบ้านไป หัดอ่าน หัดเขียน เพื่อเป็นการเรียนไปในตัว คือ ให้พระในวัดเป็นคนสอนมาบวชเป็นสามเณร โดยมีคุณพ่อสุวิชชา คำบ้านฝาย เป็นผู้บริจาคที่ดินจำนวน 8 ไร่ 3 ตารางวา ให้กับทางวัดและทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2400 และท่านก็ได้ชื่อวัดว่า “ วัดศรีสะอาดโพธิ์ชัย ” เพราะบริเวณวัดมีแต่ต้นโพธิ์และต้นไชยใหญ่รอบบริเวณวัด และศาลา 2 หลังที่ให้ลูกหลานชาวบ้านมาหัดอ่าน หัดเขียน ก็เลยตั้งเป็นโรงเรียนคือ โรงเรียนวัดศรีสะอาดโพธิ์ชัย เพราะอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกัน

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 พระมหากษัตริย์ศึกคือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้จับพระเจ้าตากสินปลงพระชนม์ และได้จับเจ้าหัวเมืองต่างๆทุกๆหัวเมือง ในเวลาไล่เลี่ยกันมา

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2339 ในฤดูฝน ฝนตกอย่างหนักน้ำในลำแม่น้ำจะล้นฝั่งอยู่แล้ว ท่านพ่อพระยาปาดไปส่งสารที่ในเมืองไม่ได้ เพราะข้ามน้ำน่านไม่ได้ เจ้าเมืองพระฝางหาว่าท่านพ่อพระยาปาดแข้งข้อ แล้วแจ้งข่าวไปหาพระมหากษัตริย์ศึก พระมหากษัตริย์ศึกจึงสั่งจับพระยาปาด แต่ท่านพ่อพระยาปาดไม่ยอมหนีส่วนพระฝางได้หนีไปเลยหายสาบสูญ ส่วนเจ้าพระยาปาดไม่ยอมหนีและมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าตากสินตลอดมา จึงขอยอมตายเพื่อเกียรติศักดิ์และศักดิ์ศรี ของนักรบ โดยไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย ยอมให้ประหารชีวิตที่ริมลำแม่น้ำปาด ณ ที่หินสามเศร้า (ท่านา ) หน้าประตูเมืองของท่านเอง และศีรษะของท่านได้กระเด็นตกลงสู่ลำแม่น้ำปาดเหล่าทหารได้ลงไปงมหาหัวของท่าน แต่ก็ไม่มีใครพบส่วนภรรยาของท่านได้ไปเกณฑ์เอาชาวบ้านไปช่วยงมหาอยู่ 3 วัน 3 คืนด้วยกัน แต่ก็ไม่มีใครพบเจอเลยไปเจอก้อนหินกลมใหญ่อยู่ในวังน้ำกลางวังพอดีจนสุดท้ายศีรษะของท่านพ่อพระยาปาดก็หาไม่พบจนทุกวันนี้ สันนิษฐานกันว่า ท่านพระมหากษัตริย์ศึกคงจะเอาศีรษะของท่านเสียบประจานที่หน้าประตูเมืองของท่านเลยไม่ให้ใครพบเจอ และเดี๋ยวนี้ยังเรียกท่าน้ำวังว่า วังงม จนทุกวันนี้ หลังจากท่านพ่อพระยาปาดถูกประหารชีวิตไปอยู่นานเท่าไรไม่มีใครทราบได้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2425 ได้มีเจ้าเมืองคนใหม่มาปกครองต่อจากท่านพ่อพระยาปาด คือ ท่านพระคันทคีรี ต่อมาท่านพระคันทคีรี เห็นว่าเมืองติดริมแม่น้ำปาดและคับแคบไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายเมืองพระยาปาดจากหมู่บ้านฝายมาตั้งเมืองใหม่อยู่ที่บริเวณบ้านลุ่ม ปัจจุบันนี้คือ บ้านแสนตอ และมาเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองแสนตอ ในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก็มีการจัดตั้งมณฑลพิษณุโลกขึ้น เมืองแสนตอจึงได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอน้ำปาด ขึ้นกับอำเภอท่าปลาและได้ยกฐานะเป็นอำเภอน้ำปาดในปี พ.ศ. 2450 ตั้งแต่ นั้นมา เมืองพ่อพระยาปาดก็ได้ยุบมาเป็นตำบลบ้านฝายและได้แต่งตั้งกำนันคนแรกของตำบลบ้านฝายในปี พ.ศ. 2450[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หมู่บ้านฝาย (จังหวัดอุตรดิตถ์) http://maps.google.com/maps?ll=17.737137,100.69613... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=17.7371... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://tools.wikimedia.de/~magnus/geo/geohack.php?... http://www.globalguide.org?lat=17.737137&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=17.737137,100.696... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...